วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Note 20 Octorber 2015

Diary Note no.10
Substance

นำเสนอบทความ
  1. เลขที่ 11 เรื่องทำอาหาร กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์
  2. เลขที่ 12 เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด

นำเสนอของเล่น การทดลอง และของเล่นตามมุมของแต่ละกลุ่ม
  • เรื่องบ้าน(home)
  • เรื่องร่างกาย(body)
  • เรื่องยานพาหนะ(vehicles)
  • เรื่องผีเสื้อ(butterfly)

เรื่องดิน(soil)
ของเล่น



นาฬิกาทราย
อุปกรณ์ 
1.ขวดน้ำ 2 ขวด
2.ดินทราย
3.ฝาน้ำ 2 ฝา
4.เทปกาว 

วิธืการทำ
1.ฝาขวดน้ำมาเจาะรู ทั้งสองฝา
2.นำดินทรายใส่ขวดใดขวดหนึ่งปริมาณเท่าไหนก็ได้แล้วแต่เรา และนำฝาขวดมาปิดขวดน้ำ แล้วนำขวดน้ำทั้งสองขวดมาปะกบกัน
3.นำเทปกาวใสใสแปะระหว่างฝาทั้งสองขวดเพื่อให้อยู่ติดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน 

ประสบการณที่ได้รับทางวิทยาศาสตร์
เด็กจะได้รู้เรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกไม่ว่าสิ่งของจะอยู่ข้างบนยังงัยสิ่งของก็ต้องตกลงมาอยู่ข้างล่าง เหมือนนาฬิกาทราย ถ้าทรายอยู่ขวดบน ยังไงดินทรายก็จะไหลลงมาอยู่ขวดข้างล่าง


ของเล่นตามมุม


โลกล้มลุก
อุปกรณ์
1.ลูกบอล
2.ดิน
3.กระดาษสี
4กาว
5.กรรไกร
6.ของตกแต่ง
วิธีทำ
1.นำลูกบอลมาตัดแบ่งครึ่งเพื่อเอาแต่ครึ่งเดียวจากนั้น นำดินเหนียวที่เตรียมไว้มาใส่ที่ลูกบอลที่ตัดแบ่งเรียบร้อยแล้ว
2.นำกระดาษสีมาแปะเพื่อตกแต่งตัวโลกล้มลุก

ประสบการณทางวิทยาศาสตร์

เช่นเดียวกับนาฬิกาทรายคือแรงโน้มถ่วง แต่โลกล้มลุกต่อให้เราผลักมันให้ล้มขนาดไหนมันก็จะกลับมาตั้งเป็นรูปร่างเหมือนเดิม เพราะมันมีดินที่คอยถ่วงงมันอยู่ข้างล่าง

การทดลองเรื่องการดูดซึมของดิน





อุปกรณ์
1.ดินทราย ดินเหนียว ดินร่วน
2.ขวดน้ำ 3 ขวด
3.กรรไกร
4.มุ้งลวด
5.กาว

วิธีทำ
1.นำขวดน้ำทั้ง3ขวดมาตัดเอาแต่ช่วงบน และนำฝาน้ำมาเจาะรู 
2.นำมุ้งลวด มาแปะที่ฝาขวดน้ำให้ติดกัน และนำนำขวดที่ตัดช่วงบนไปใส่ช่วงล่างที่ตัดไว้  จากนั้นนำดินทั้งสามชนิดใส่ขวดพร้อมที่จะทดลอง

การทดลอง
นำดินใส่ขวด และนำนำใส่พร้อมกันหลังจากนั้นให้สังเกตว่าดินชนิดไหนสามารถดูดซึมน้ำได้ดีที่สุด
โดยสังเกตว่า  ถ้าดินชนิดไหนที่มีความหนาแน่นมากน้ำก็จะไหลผ่านได้ยาก แต่ถ้าดินชนิดไหนความหนาแน่นน้อยการดูดซึมของน้ำก็จะดี 
ผลการทดลอง
ดินร่วนน้ำจะดูดซึมได้ดีที่สุด
ดินทรายน้ำดูดซึมได้ช้ากว่าดินร่วน
ดินเหนียวน้ำไม่สามารถดูดซึมได้

ประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์
เด็กจะรู้เกี่ยวกับความหนาแน่นของดิน ถ้าดินชนิดไหนที่มีความหนาแน่นมากน้ำก็จะไหลผ่านได้ยาก แต่ถ้าดินชนิดไหนความหนาแน่นน้อยการดูดซึมของน้ำก็จะดี 
เทคนิคการสอน (Techninal Education)
  • มีการใช้คำถาม-ตอบ ในเรื่องที่เรียนอยู่
  • อาจารย์สอนโดยให้นักศึกษาลงมือกระทำด้วยตนเอง
ทักษะที่ได้รับ (Gain Skills) 
  • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มกับเพื่อนๆ นักศึกษา
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์
การนำไปประยุกต์ใช้ (Adoption) 
- สามารถประดิษฐ์สื่อต่างๆได้จากของเหลือใช้
-สามารถนำ ความรู้ที่ได้ในเรื่องของการทำของเล่น การทำลอง ต่างๆ ไปประยุกต์ในการสอน ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ โดยให้เด็กลงมือกระทำด้วยตนเอง
บรรยากาศในห้องเรียน (The atmosphere in the classroom)
-ทุกคนไม่มีความพร้อมในการเรียน
ประเมินตนเอง (Self-evaluation)
-ตั้งใจเรียนมากขึ้น
ประเมินเพื่อน (Rating friends)
-เพื่อนบางคนยังไม่มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินอาจารย์ (Teaching Evaluation)

-ตั้งใจสอนอย่างมาก
-ให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่
-อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีการกระตุ้นให้นักศึกษาอยู่ในการสอนตลอดเวลา สอนเข้าใจง่าย และมีการสรุปองค์ความรู้ให้นักศึกษาได้ฟังอย่างละเอียด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น